ขั้นตอนการออกแบบพันหม้อแปลง 1เฟส ขนาดเล็ก
โดยทั่วไปส่วนมากจะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ 1. การพันแบบ Convertional เป็นการพันแบบแยกขดโดยจะแยกขดลวดด้านปฐมภูมิ(Primary Winding) และด้านทุติยภูมิ(Secondary Winding) ออกจากกันแต่พันอยู่บนแกนเดียวกันได้
2. การพันแบบ Auto Transformer เป็นการพันแบบไม่แยกขดคือขดลวดด้นปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็นชุดเดียวกันพันอยู่ในแกนเหล็ก โดยจะทำการแบ่งส่วนช่วงหนึ่งของขดลวดเพื่อใช้เป็นด้านปฐมภูมิ และด้านทุติยภูมิ ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็น Step Up หรือ Step Down
ในการออกแบบหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก 1เฟส เพื่อใช้งานจริงนั้น สำคัญคือการเลือกขนาดแกนเหล็กให้ถูกต้องเหมาะสมกับกำลังไฟฟ้าที่ใช้งานกับการใช้งานจริง โดยจะต้องเลือก ขนาดแกนเหล็กที่มีอยู่ในท้องตลาดจริงด้วย ตารางแสดง ความสัมพันธ์ของขนาดพิกัดของแกนเหล็กและกำลังไฟฟ้าที่ใช้งาน
ขั้นตอนการคำนวน1 คำนวนพื้นที่หน้าตัดของแกนเหล็ก ( ขากลางของ EI ) การหาพื้นที่หน้าตัดได้นั้นจะต้องทราบกำลังไฟ้ฟ้าที่จะใช้งานก่อนว่ามีขนาดเท่าใด ซึ่งกำลังของหม้อแปลงคือผลคูณของกระแสกับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้โหลด = V x A (watt) V = แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายออก A = กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออก สมการที่ใช้หาพื้นที่หน้าตัด a ( Area ) = VA / 5.58 หน่วยเป็นตารางมิลลิเมตร
โดยทั่วไปจะกำหนดขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้าของหม้อแปลงไว้ให้มากกว่าโหลดเพื่อป้องกันหม้อแปลงร้อน 2 คำนวนขนาดเส้นรอบวงนอกของแกนเหล็ก ( วงนอกของ EI )
3 คำนวนหาขนาดขดลวดที่ใช้พัน ด้านขดลวดที่ใช็พันจะต้องไม่ร้อนเกินไปเมื่อจ่ายกระแสทำงานที่โหลดเต็มที่ 4 คำนวนหาจำนวนรอบด้านปฐมภูมิ
under Construction |